Thursday, October 18, 2012

วิลเบอร์ ไรท์

วิลเบอร์ ไรท์

ประวัติ
ออร์ วิลและวิลเบอร์ ไรท์ เป็นบุตรของเสมียนในเมือง เล็กๆ ชื่อเดตันในรัฐโอไฮโอ วิลเบอร์ ไรท์ ผู้เป็นพี่ชายเกิดในปี1867 ส่วนออร์วิล คนน้องเกิดในปี 1871 ทั้งสองมีแรงบันดาลใจเกี่ยวกับเรื่องการบินตั้งแต่ได้รับของขวัญเป็นเครื่อง ร่อนเล็กๆ ซึ่งสองคนพี่น้องนึกแปลกใจว่าเครื่องร่อนนั้นบินได้อย่างไร ต่อมาในปี 1895 หลังจากที่ทั้งคู่จบการศึกษาและร่วมกันเปิดร้านซ่อมจักรยานนั้น พี่น้องคู่นี้ได้อ่านบทความที่เขียนโดยนักสร้างเครื่องร่อนชาวเยอรมัน ชื่อ ออตโต ลิเลียนทาล บทความนี้ทำให้เขาประหลาดใจเหมือนเมื่อสมัยเขาทั้งสองเป็นเด็ก จึ่งตัดสินใจที่จะสร้างเครื่องยนต์ที่บินได้และบรรมทุกคนได้ด้วย หลังจากที่ทั้งสองพี่น้องได้ศึกษาและทดลองถึงการลอยตัวของว่าวและเครื่อง ร่อนจนรู้สาเหตุแล้วจึ่งได้สร้างเครื่องร่อนขนาดใหญ่พอที่จะบรรทุกคน ขึ้นไปได้หนึ่งคนเป็นครั้งแรกและให้ชื่อมันว่า คิตตี้ ฮอร์ก โดยทำการทดลองร่อนที่เนินเขาในรัฐคาโรไลนาเหนือที่มีลมแรง การทดลองประสบผลสำเร็จ ทั้งคู่จึงสร้างเครื่องร่อนขึ้นอีกหลายลำและเพิ่มระยะทางบินให้มากขึ้น ในปี ค.ศ. 1902 ทั้งคู่คิดค้นหาวิธีที่จะทำให้เครื่องร่อนบินได้ไกลและมีประสิทธิ ภาพขึ้น โดยคิดที่จะใส่เครื่องยนต์ให้กับเครื่องร่อนนั้น พอปลายปี 1903 เครื่องบินลำแรกของโลกก็ได้ถูกสร้างขึ้นโดยวิลเบอร์ และออร์วิล เอาเครื่อง ยนต์ขนาด 12 แรงม้า ใส่เข้ากับเครื่องร่อนคิตตี้ โอร์ค ซึ่งใช้หมุนใบพัด 2 ข้าง และตั้งชื่อให้มันว่า ฟลายเออร์ โดยวิลเบอร์เป็นผู้ทดลองขึ้นบินเป็น คนแรก ในการทดลองบินครั้งแรกนั้น ฟลายเออร์ยกตัวลอยขึ้นจากพื้นดิน หมุนไปรอบๆ แล้วตกลงพื้นดิน ต้องเสียเวลาซ่อม 2 วัน ทั้งคู่จึ่งทำการทด ลองต่อไปใหม่ โดยคราวนี้ออร์วิล เป็นผู้อยู่บนเครื่องเขาพยายามบินอีกครั้ง ฟลายเออร์ลอยขึ้นสูงจากพื้นดิน 3เมตร ใช้ความเร็ว 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และบินไปได้ไกลถึง 36 เมตร พี้น้องตระกูลไรท์ได้ทำการทดลองบินอีกในเช้าวันต่อมาจนกระทั่งลมกรรโชกทำให้ เครื่องพลิกคว่ำแล้วพังไป เขาจึงกลับไปทำงานที่ร้านจักรยานต่อ และทำการทดลองอีกครั้งในปี ค.ศ.1905 โดยสร้างเครื่องบินอีก 3 ลำ และทำการบินได้ครึ่งชั่วโมงในแต่ละครั้ง น่าประหลาดใจที่ไม่มีใครแสดงความสนใจในสิ่งที่พวกเขาทำมากนัก เพียงไม่กี่คนที่เฝ่ากูเขาทำการบิน ไม่มีแม้แต่การรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ คนทั่วไปไม่คิดว่าการบิน จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ในปี ค.ศ.1908 เขาได้ทำการบินต่อหน้าสาธารณชน โดยมีผู้โดยสารขึ้นไปคนหนึ่งบินไปเกือนบครึ่งชั่วโมง และกลายเป็นผู้มีชื่อเสียง เขา ได้ทำการสาธิตการบินทั้งในยุโรปและอเมริกาใน ปี 1909 ทั้งคู่เป็นวีรยุรุษของปวงชนแทนที่จะเป็นช่างซ่อมจักรยานที่ไม่มีใครรู้จัก เขาได้ตั้งโรงงานผลิตเครื่อง บินและได้รับความสำเร็จในทันที ออร์วิลและวิลเบอร์ได้รับชัยชนะที่งดงามด้วยกัน จนกระทั่งปี ค.ศ.1912 วิลเบอร์เป็นไข้ไทฟอยด์และถึงแก่กรรม
ผลงาน
-ประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกของโลก

ชาร์ลส์ ดาร์วิน

ชาร์ลส์ ดาร์วิน

ประวัติ
ชาร์ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1809 ในชูว์เบอรี่ ประเทศอังกฤษ บิดาของเขาเป็นนายแพทย์ซึ่งต้องากรให้ลูกชายดำเนินอาขีพทางด้านนี้เช่นกัน เขาจึงถูกส่งเปเรียนการแพทย์ที่เอดินเบอระ แต่เรียนได้ 2 ปีก็ลาออกเพราะใจไม่ชอบ ทางนี้ ชาร์ลส์เป็นคนที่ชอบสะสมสิ้งของที่เขาสนใจ เช่น แมลง (ที่ตายแล้ว) เปลือกหอย ไข่นก เหรียญต่างๆ และหินแปลกๆ เขาเล่าในภายหลังว่าการสะสมของเขาเป็นการ เตรียมให้เขาทำงานเป็นนักธรรมชาติวิทยา หลังจากที่ลาออกจากการเรียนแพทย์ บิดาจึงส่งชาร์ลส์ไปยังมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เรียนทางศาสนาเพื่อจะบวชเป็นพระ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์นี้เองที่เขาได้รับการแนะนำจากอาจารย์สอนพฤกษศาสตร์ คนหนึ่ง ให้เขาไปเรียนวิชาธรณีวิทยาเพิ่มเติม จึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้ในวิชา ธรรมชาติวิทยาที่เขาสนใจให้กว้างขาวางยิ่งขึ้น มีเรื่องเล่าว่าวันปนึ่งชาร์ลส์ได้เห็น แมลงที่หายากสองชนิดบนต้นไม้ เขาจับไว้ด้วยมือแต่ละข้างอย่างรวดเร็วแต่แล้วเขา เห็นตัวที่สาม ยิ่งหายากกว่า แมลงนั้นอยู่ตรงหน้าของเขาเขาเอาแมลงตัวหนึ่งใส่เข้าไป ในปากอย่างรวดเร็ว และยื่นมือออกไปจับตัวที่สามแต่ตัวที่อยู่ในปากของเขาได้คายน้ำ ชนิดหนึ่งออกมาซึ่งทำให้ลิ้นของชาร์ลส์ปวดแสบปวดร้อนอย่างมากจนทำให้เขาต้อง ถ่ม แมลงตัวนี้นออกมาเขาเป็นห่วงว่าจะสูญเสียแมลงตัวนั้นมากกว่าเป็นห่วงว่าจะทำ ให้ลิ้น เจ็บและแล้วโชคก็ผ่านมาในชีวิตเขากองทัพเรือได้เตรียมการออกสำรวจรอบโลกโดย ทางเรือชื่อ บีเกิล เพื่อเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการรับรองของศาสตราจารย์ เฮนสโลวดาร์วินได้รับเชิญให้เป็นนักสำรวจธรรมชาติวิทยาการสำราจใช้เวลานาน ถึง 5 ปีทำให้ ดาร์วินได้มีโอกาสเปรียบเทียรสัตว์และพืชจากส่วนต่างๆ ของโลก เขาได้ เห็นสัตว์ที่มีถุงหน้าท้อง เช่น จิงโจ้ ในประเทศออสเตรเลีย และในนิวซีแลนด์ ซึ่งจะไม่ พบในประเทศอื่นเมื่อการสำรวจมาถึงหมู่เกาะกาลาพากอสในอเมริกาใต้ดาร์วินก็ ได้ พบสัตว์ชนิดต่างๆ และพบว่าแต่ละเกาะมีสัตว์เฉพาะชนิดซึ่งไม่พบในเกาะอื่น สิ่งที่พบ เห็นทำให้ดาร์วินต้องคิดอย่างหนัก สำหรับเขาเหมือนกับว่าสัตว์เหล่านั้นมี่การเปลี่ยน แปลงลักษณะพิเศษที่ช่วยให้มันมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นๆ ส่วนตัวใดที่ ไม่มีลักษณะเช่นนั้นก็จะตายไปส่วนที่อยู่ก็ได้ถ่ายทอดลักษณะนั้นๆไปยังลูก หลานการ เปลี่ยนแปบงเป็นไปอย่างช้าๆ ตลอดเวลาหลายพันปี ชนิดที่อ่อนแอและมีส่วนที่ด้อย กว่าก็จะตายไป ชนิดที่ดีกว่าก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมเฉพาะนั้นๆ โดยมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มจำนวนนี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าวิวัฒนาการ ชาร์ลส์ได้ เขียนผลงานชิ้นสำคัญของเขาเล่มแรกคือ"เดอะ ซูโอโลจี ออฟ เดอะ บีเกิล"มันได้รับ การต้อนรับเป็นอย่างดี ชาร์ลส์ไม่เร่งร้อนที่จะเปิดเผยความคิดของเขาเรื่องการกำเนิด ของชีวิต บางทีเขาอาจจะต้องการเวลามากกว่านี้สำหรับคิดเขากังวลอย่างมากในการที่ จะขัดแย้งกับความเห็นของศาสนาที่ทุกคนยอมรับ แต่นักธรรมชาติวิทยาอีกคนหนึ่งชื่อ วอลเลซ มีความเห็นเช่นเดียวกันกับดาร์วิน เขาเขียนจดหมายถึงดาร์วิน ในปี 1858 และส่งเอกสารเรื่องนี้ไปให้เขา เขาของร้องให้ดาร์วินช่วยส่งไปยังมหาวิทยาลัย ดาร์วินมีน้ำใจดีพอที่จะช่วยทำให้พร้อมกับเสริมไปว่า ดาร์วินเองก็มีความคิดเห็นเช่นเดียว กันแต่ยังไม่มั่นใจในการที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชนเพราะว่าจะทำให้เกิดความ โกลาหล เกิดขึ้นอย่างแน่นอนโชคดี นักธรรมชาติวิทยาที่เคมบริดจ์ทราบเรื่องผลงวานของดาร์วิน และชักชวนให้เขาเปิดเผยความคิดเห็น ดังนั้นเขาและวอลเลซจึงพิมพ์เอกสารขึ้นด้วยกัน หนึ่งปีต่อมาหนังสือที่มีชื่อเสียงของดาร์วินชื่อ"ออนดิออริจิน ออฟ สเปซี่ บายมีนส์ ออฟ เนเชอราล ซีเล็คชั้น"ก็ได้ปรากฏขึ้น และเหมือนดังที่ดาร์วินคาดคิดไว้ มันทำให้เกิดความ โกลาหล สิ่งที่ดาร์วินพูดถึงคือบอกว่า โลกนี้มิได้ถูกสร้างขึ้นภายในหนึ่งอาทิตย์ มันมีอายุ ยาวนานกว่านั้นมันได้เปลี่ยนแปลงไปในเวลานี้และยังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ สิ่งมีชีวิต ต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกันและผิดแผกแตกต่างออกไปจากที่ตอนเริ่มเกิดขึ้น ใหม่ๆ มนุษย์พัฒนาขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตที่ธรรมดาที่สุด เรื่องราวของอดัมและอีฟในสวน อีเดนคงเป็นจริงไปไม่ได้ผู้คนคิดว่า ดาร์วินบอกว่าพวกเขาสืบเชื่อสายมาจากลิงเป็น ความคิดที่น่าละอายอย่างยิ่งหนังสือของดาร์วินถูกนำไปเผาทิ้งด้วยความโกรธ และขยะ แขยงฝ่ายศาสนจักรพร้อมที่จะเผชิญกับดาร์วินในปี 1860 พวกเขาเรียกประชุมที่ อ๊อกซ์ฟอร์ด พวกพระและนักวิทยาศาสตร์พบกันที่นีนเพื่อถกเถียงกันถึงต้นกำเนิด ของสัตว์และต้นไม้สำหรับเรา การประชุมกันแบบนี้ฟังดูเป็นเรื่องหัวโบราณเหลือเกิน แต่ในสมัยนั้นถือเป็นเรื่องจริงจังถึงแม้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า ความคิด เห็นของดาร์วินถูกต้อง และเรื่องราวของอดัมกับอีฟเป็นแต่เพียงเรื่องเล่าฝ่ายศาสนจักร ยังคงมีอำนาจมากจนดาร์วินไม่เคยได้รับรางวัลเกียรติยศจากผลงานของเขาจากการ หมกมุ่นในการทำงานทำให้สุขภาพของเขาทรุดลแต่เขายังคงทำงานต่อไป "เมื่อข้าพ เจ้าต้องหยุดการสัเกต ข้าพเจ้าก็ตาย" เขาพูดในวันที่17 เมษายน 1882 เขายังคง ทำงานอยู่ และเสียชีวิตในอีกสองวันต่อมา
ผลงาน
-เป็นผู้การค้นพบการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
จนได้รับการขนานนามว่า "บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์"

อัลเบิรต์ ไอสไตน์

อัลเบิรต์ ไอสไตน์

ประวัติไอน์สไตน์ เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศ เยอรมันนี เมื่อ วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ปีต่อมาครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปอยู่มิวนิค เขามีจิตใจรักทางดนตรีและสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุเพียง 6ปี พอมีอายุได้ 12ปี เขาก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง ด้วยความที่เขาเรียนเก่งทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์เขาจึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริคประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากจบการศึกษาในปี 1900ไอน์สไตน์ก็ทำงานเป็นครูสอนทาง ไปรษณีย์อยู่2ปีจึงได้ทำงานเป็นผู้งชาญทางเทคโนโลยีในสถาบัน แห่งหนึ่งในกรุงบอร์น ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลสาขาฟิสิกส์ในปี1921 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นช่วงเวลาที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำ การกวาดล้างชาวยิวไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็น พลเมืองชาวเยอรมันเขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐโดยทำงานอยู่ที่สถาบัน การศึกษาในปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้สัญชาติอเมริกันในปี1941 ไอน์สไตน์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงก็โดยเหตุที่เขาให้ทฤษฎีแห่งความ สัมพันธ์ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้า และทรรศนะศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญ อันเป็นประโยชน์ต่อทฤษฎี Quantum และทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับ ความโน้มถ่วง ตลอดชีวิตของเขาได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงการ วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย ไอน์สไตน์ถึง แก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1955
ผลงาน
-เป็นผู้ให้กำเนิด "ระเบิดปรมาณู"
-เป็นเจ้าของทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์
-ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921

โทมัส เอดิสัน

โทมัส เอดิสัน

ประวัติ
โทมัส เอลวา เอดิสัน เกิดในปี ค.ศ.1847 ที่มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เมื่อเข้าโรงเรียนครูกล่าวว่าเขาไม่สามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้ ดังนั้นหลังจากเรียนอยู่ได้3เดือนบิดามารดาก็ต้องเอาออก จากโรงเรียนแล้วมารดาก็เป็นผู้สอนแทนเธอสอนให้อ่านและ เขาก็อ่านหนังสือเกี่ยวกับเคมีที่สามารถจะหาได้ พออายุได้12ปี เขาได้ทำงานเป็นเด็กเดินข่าวของรถไฟ ขายหนังสือพิมพ์และผลไม้ เอดิสันหูตึงเพราะถูกพนักงานรักษารถไฟคนหนึ่งกระแทกที่หูอย่าง แรงเมื่อเขาทำสารเคมีชนิดหนึ่งหกลงไปจนเกิดไฟลุกในรถเก็บของ ซึ่งเอดิสันใช้เป็นห้องทำงานและทำการทดลองวิทยาศาสตร์ จากอุบัติเหตุทำให้เกิดไฟไหม้ครั้งนั้นทำให้เอดิสันถูกไล่ออก และตกงานแต่นายสถานีประทับใจในความเฉลียวฉลาดและ ไหวพริบของเขาจึงได้สอนเรื่องการส่งโทรเลขให้ดังนั้นเมื่อ เขาอายุได้15ปีก็ได้เข้าทำงานเป็นคนส่งโทรเลขเขาได้ประดิษฐ์ เครื่องทุ่นแรงสำหรับส่งโทรเลขในปี 1869ขณะอายุได้21ปีและ ได้จดลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของเขา ต่อมาในปี1878 เอดิสันก็ได้ประดิษฐ์หลอดไฟหลอดแรกของโลกได้เป็นผลสำเร็จ เอดิสันได้จดลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ของเขามากกว่า1200ชนิด ผลงานของเขาอาทิเช่นหลอดไฟฟ้า,หีบเสียง,เครื่องบันทึกเสียง ฯลฯ เอดิสันทำงานอย่างขยันขันแข็งคืนหนึ่งๆเขานอนเพียง4-5ชั่วโมง เท่านั้นในตอนปลายของชีวิตสุขภาพของเขา ทรุดโทรมไปมากและถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1931
ผลงาน
-เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
-เป็นผู้ประดิษฐ์หีบเสียง
-เป็นผู้ประดิษฐ์จานเสียง
-เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียง
-เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนตร์

ฟิสิกส์ 1(ภาคกลศาสตร์) 
ฟิสิกส์ 2  กลศาสตร์เวกเตอร์
โลหะวิทยาฟิสิกส์ เอกสารคำสอนฟิสิกส์ 1
ฟิสิกส์  2 (บรรยาย) แก้ปัญหาฟิสิกส์ด้วยภาษา c  
ฟิสิกส์พิศวง สอนฟิสิกส์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
ทดสอบออนไลน์ วีดีโอการเรียนการสอน
หน้าแรกในอดีต  
บทความพิเศษ  ตารางธาตุ(ไทย1)   2  (Eng)
พจนานุกรมฟิสิกส์ 
ธรรมชาติมหัศจรรย์ 
การทดลองมหัศจรรย์  ดาราศาสตร์ราชมงคล
แบบฝึกหัดโลหะวิทยา  
ความรู้รอบตัวทั่วไป 
ทดสอบ(เกมเศรษฐี) 
ข้อสอบเอนทรานซ์ เฉลยกลศาสตร์เวกเตอร์
คำศัพท์ประจำสัปดาห์  
การประดิษฐ์แของโลก ผู้ได้รับโนเบลสาขาฟิสิกส์
นักวิทยาศาสตร์เทศ นักวิทยาศาสตร์ไทย
ดาราศาสตร์พิศวง  การทำงานของอุปกรณ์ทางฟิสิกส์
การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  
  การเรียนการสอนฟิสิกส์ 1  ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
1. การวัด 2. เวกเตอร์
3.  การเคลื่อนที่แบบหนึ่งมิติ 4.  การเคลื่อนที่บนระนาบ
5.  กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน 6. การประยุกต์กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
7.  งานและพลังงาน  8.  การดลและโมเมนตัม
9.  การหมุน   10.  สมดุลของวัตถุแข็งเกร็ง
11. การเคลื่อนที่แบบคาบ 12. ความยืดหยุ่น
13. กลศาสตร์ของไหล   14. ปริมาณความร้อน และ กลไกการถ่ายโอนความร้อน
15. กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก  16. คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
17.  คลื่น 18.การสั่น และคลื่นเสียง
   การเรียนการสอนฟิสิกส์ 2  ผ่านทางอินเตอร์เน็ต  
1. ไฟฟ้าสถิต 2.  สนามไฟฟ้า
3. ความกว้างของสายฟ้า  4.  ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน 
5. ศักย์ไฟฟ้า 6. กระแสไฟฟ้า 
7. สนามแม่เหล็ก  8.การเหนี่ยวนำ
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ  10. ทรานซิสเตอร์ 
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ 
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 14. กลศาสตร์ควอนตัม
15. โครงสร้างของอะตอม 16. นิวเคลียร์ 
1. จลศาสตร์ ( kinematic)
3. งานและโมเมนตัม 4. ซิมเปิลฮาร์โมนิก คลื่น และเสียง
5.  ของไหลกับความร้อน 6.ไฟฟ้าสถิตกับกระแสไฟฟ้า 
7. แม่เหล็กไฟฟ้า  8.    คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับแสง
9.  ทฤษฎีสัมพัทธภาพ อะตอม และนิวเคลียร์   
    

กูกิลโม มาร์โคนี


กูกิลโม มาร์โคนี

ประวัติ
กูกิลโม มาร์โนี เกิดเมือ่ปี 1874 ที่โบโลนา ในประเทศอิตาลี มีบิดาเป็นชาวอิตาเลียนและมารดาเป็นชาวไอริช เขาได้รับแรงดลใจจากการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ของคลาร์ค แม็กซ์เวลล์ และการทดลองการส่งกระแส ไฟฟ้าผ่านเส้นลวดของไฮริช เฮิร์ท นักวิทยาศาสตร์ชาว เยอรมันหลังจากการค้นพบของเฮิร์ทไม่นาน เด็กหนุ่ม ชาวอิตาลีชื่อ กูกิลโม มาร์โคนี ซึ่งศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย โบโลนา ในประเทศอิตาลีได้พบปะกับนักวิทยาศาสตร์คน หนึ่งซึ่งเคยทำงานกับเฮิร์ทในประเทศเยอรมีน งานของ เฮิร์ททำให้มาร์โคนีเกิดจินตนาการเขาได้สร้างเครื่องรับ ส่งวิทยุอย่างง่ายๆ ไว้ในห้อง 2 ห้องที่บ้านของบิดาและ ในไม่ช้าเขาก็สามารถส่งสั้ญญาณข้ามห้องจากห้องหนึ่ง ไปยังอีกหน้องหนึ่งได้ เขาพบว่าถ้าเขา สร้างเสาอากาศให้สูงขึ้น เขาจะสามารถส่งสัญญาณของเขาได้ไกลขึ้น ในปี ค.ศ.1895 เมื่อเขาอายุได้ 21 ปี เขาส่งสัญญาณไปไกลถึง 1.5 กิโลเมตร เขาเห็นความสำคัญของ การค้นพบนี้ การทดลองต่อต้องการทุนทรัพย์ แต่ไม่มีใครสนใจในเรื่องนี้นัก เมือ่เขา ไม่ได้รับการสนับสนึนในอิตาลีจึงเดินทางไปลอนดอนในปี 1896 และการไปรษณีย์ ของอังกฤษให้ความช่วยเหลือและด้วยการปรับปรุงวิธีการของเฮิร์ทในหลายๆ ด้านเขา เริ่มสามารถส่งสัญญาณไปไกล ๆ ขึ้นในปี ค.ศ 1899 เขาส่งสัญาณจากสถานีหนึ่ง บนฝั่งด้านใต้ไปยังสถานีในฝรั่งเศสซึ่งไกลออกไป50กิโลเมตรและที่ระย120 กิโลเมตร สำเร็จเจ้าของเรื่อเริ่มติดตั้งเครื่องมาร์โคนี ในเรือเดินทะเลของเขา หลายคนรู้สึก ประทับใจเมื่อเรือที่กำลังเดินทางในกู๊ดวินแซนด์ในทะเลเหนือได้รับการเตือนให้ทราบ ถึงภัยอันตรายด้วยคลื่อนวิทยุจากมาร์โคนี ทำให้เรือกับลูกเรือทุกคนปลอดภัย ในปี ค.ศ 1901 มาร์โคนี ส่งสัญญาณวิทยุได้ระยะทางไกลกว่า 2700 กิโลเมตร จากคอร์นวอลถึงนิวฟาวน์แลนด์ที่ทุกคนบอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะแม็กซ์เวลได้ แสดงให้เห็นว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางเป็นเส้นตรงเหมือนแสงแต่ระยะทาง นิวฟาวน์แลนด์ไม่ได้เป็นทางตรง เพราะโลกนี้โค้งทุกคนคิดว่าคลื่นวิทยุของเขา จะเดินเป็นเส้นตรงและหายไปในอากาศ แต่ปรากฏว่าคลื่นวิทยุที่รับได้ที่ นิวฟาวน์แลนด์นั้นชัดเจนซึ่งแม้แต่มาร์โคนีก็ไม่ทราบเหตุผล ในปัจจุบันี้เรา ทราบว่าสูงขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลประมาณ 110 กิโลเมตร จะมีชั้นรอนุภาค ไฟฟ้าซึ่งเรียกกันว่าไดโอดนสเฟียร์และชั้นนี้จะเป็นตัวสะท้อนคลื่อนวิทยุกลับ มายังโลกเมื่อคลื่นไปกระทบถูกชั้นบรรยากาศ 20,000 เมตรถ้าส่งข่าวสาร ออก ณ ความยาวคลื่นหนี่งหรือความถี่หนึ่งเครื่องรับจะต้องปรับให้ตรงกับ ความยาวคลื่นเครื่องวิทยุของเราจึ่งมีหน้าปัทม์ที่มีตัวเลขหรือเครื่องหมาย บอกความยาวของคลื่น เพื่อให้เราสามารถเลื่อกโปรแกรมที่เราต้องการฟังได้ วิทยุคลื่นสั้นความถี่สูง เป็นส่งที่เหมาะกับรายการที่ถูกส่งมาจากระยะไกลๆ หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มาร์โคนีทำการทดลองส่วนใหญ่เกี่ยวกับ สัญญาณคลื่นสั้นในระยะเวลาอันสั้นที่มาร์โคนีมีชีวิตอยู่วิทยุได้พัฒนามาจาก การค้นพบเของเฮิร์ทจนมีรายการทั้งการพูด ดนตรีถูกส่งไปทั้วโลกเมื่อเขา ถึงแก่กรรมในโรม เมื่อปี 1937 ได้มีการจัดงานกันอย่างเป็นทางการและศพ เขาได้ฝังในบ้านเกิดของเขาที่โบโลนา ประเทศอิตาลี
ผลงาน
-เป็นผู้ประดิษฐ์โทรเลขไร้สายเป็นคนแรกของโลก
-ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1909

ฟิสิกส์ 1(ภาคกลศาสตร์) 
ฟิสิกส์ 2  กลศาสตร์เวกเตอร์
โลหะวิทยาฟิสิกส์ เอกสารคำสอนฟิสิกส์ 1
ฟิสิกส์  2 (บรรยาย) แก้ปัญหาฟิสิกส์ด้วยภาษา c  
ฟิสิกส์พิศวง สอนฟิสิกส์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
ทดสอบออนไลน์ วีดีโอการเรียนการสอน
หน้าแรกในอดีต  
บทความพิเศษ  ตารางธาตุ(ไทย1)   2  (Eng)
พจนานุกรมฟิสิกส์ 
ธรรมชาติมหัศจรรย์ 
การทดลองมหัศจรรย์  ดาราศาสตร์ราชมงคล
แบบฝึกหัดโลหะวิทยา  
ความรู้รอบตัวทั่วไป 
ทดสอบ(เกมเศรษฐี) 
ข้อสอบเอนทรานซ์ เฉลยกลศาสตร์เวกเตอร์
คำศัพท์ประจำสัปดาห์  
การประดิษฐ์แของโลก ผู้ได้รับโนเบลสาขาฟิสิกส์
นักวิทยาศาสตร์เทศ นักวิทยาศาสตร์ไทย
ดาราศาสตร์พิศวง  การทำงานของอุปกรณ์ทางฟิสิกส์
การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  
  การเรียนการสอนฟิสิกส์ 1  ผ่านทางอินเตอร์เน็ต 
1. การวัด 2. เวกเตอร์
3.  การเคลื่อนที่แบบหนึ่งมิติ 4.  การเคลื่อนที่บนระนาบ
5.  กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน 6. การประยุกต์กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
7.  งานและพลังงาน  8.  การดลและโมเมนตัม
9.  การหมุน   10.  สมดุลของวัตถุแข็งเกร็ง
11. การเคลื่อนที่แบบคาบ 12. ความยืดหยุ่น
13. กลศาสตร์ของไหล   14. ปริมาณความร้อน และ กลไกการถ่ายโอนความร้อน
15. กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก  16. คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
17.  คลื่น 18.การสั่น และคลื่นเสียง
   การเรียนการสอนฟิสิกส์ 2  ผ่านทางอินเตอร์เน็ต  
1. ไฟฟ้าสถิต 2.  สนามไฟฟ้า
3. ความกว้างของสายฟ้า  4.  ตัวเก็บประจุและการต่อตัวต้านทาน 
5. ศักย์ไฟฟ้า 6. กระแสไฟฟ้า 
7. สนามแม่เหล็ก  8.การเหนี่ยวนำ
9. ไฟฟ้ากระแสสลับ  10. ทรานซิสเตอร์ 
11. สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและเสาอากาศ 
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 14. กลศาสตร์ควอนตัม
15. โครงสร้างของอะตอม 16. นิวเคลียร์ 
1. จลศาสตร์ ( kinematic)
3. งานและโมเมนตัม 4. ซิมเปิลฮาร์โมนิก คลื่น และเสียง
5.  ของไหลกับความร้อน 6.ไฟฟ้าสถิตกับกระแสไฟฟ้า 
7. แม่เหล็กไฟฟ้า  8.    คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับแสง
9.  ทฤษฎีสัมพัทธภาพ อะตอม และนิวเคลียร์   
    

หลุยส์ ปาสเตอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์
ประวัติ
หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดในปี ค.ศ.1822 ที่เมืองเล็กๆในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาต้องการให้หลุยส์ เป็นครูจึงส่งเข้าไปเรียนที่กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาและได้เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยเมื่ออายุได้32ปี จุลชีพเป็นสิ่งที่ปาสเตอร์สนใจมากทุกคนรู้ว่าเนื้อจะเน่าเปื่อยหากทิ้ง เนื้อไว้กลางแจ้งและทุกคนสามารถมองเห็นตัวจุลชีพในเนื้อได้ด้วย กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากแต่ไม่มีใครรู้ว่าจุลชีพมาจากที่ใด นักวิทยาศาสตร์หัวโบราณคิดว่าเนื้อเน่าทำให้เกิดพวกมัน แต่ปาสเตอร์ ไม่ค่อยแน่ใจนัก เขากลับไปยังวิทยาลัยที่เคยเรียนในกรุงปารีสซึ่งเขา ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการทางวิชาวิทยาศาสตร์ เขาใช้เวลา ทั้งหมดของเขาทำการค้นคว้าเรื่องจุลชีพ ในที่สุดหลุยส์ก็ค้นพบว่า จุลชีพนั้นเกิดจากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศมิใช่มาจากอาหารที่ บูดเน่า เขาพิสูจน์โดยการนำเอาขวดซุปเนื้อขึ้นไปบนภูเขาแอลป์ซึ่ง มีอากาศบริสุทธิ์และไม่มีฝุ่นละอองเขาเปิดขวดเหล่านั้นและปล่อยทิ้งไว้ เขาพูดถูกน้ำซุปไม่เสีย บนหิ้งต่างๆของพิพิธภัณฑ์ปาสเตอร์ในกรุงปารีส มีขวดปิดไว้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยปาสเตอร์น้ำซุปเนื้อในนั้นยังคงไม่บูดเน่า หลังจากนานกว่าร้อยปี การค้นคว้านี้ทำให้เกิดอาหารกระป๋องที่เรา รู้จักกันทุกวันนี้ ต่อมาปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเพื่อหาวิธีรักษา โรคกลัวน้ำ หลังจากทำการทดลองที่เสี่ยงอันตรายหลายครั้งเขาก็ ประสบผลสำเร็จซึ่งการค้นพบวิธีรักษาโรคกลัวน้ำใหความหวังแก่ ผู้คนในหลายประเทศ หลุยส์ ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1895 มีผู้คนมากมายโศกเศร้าต่อการเสียชีวิตของเขา เขาไม่เพียงแต่เป็น นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่ยังเป็นบุคคลสำคัญอีกด้วย
ผลงาน
-ค้นพบวิธีรักษาสิ่งของไม่ให้เน่าเสียโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์
-ค้นพบวัคซีนในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า

Wednesday, October 17, 2012

เซอร์ อาร์เธอร์ เอ็ดดิงตัน

เซอร์ อาร์เธอร์ เอ็ดดิงตัน

 

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
World Year of Physics Newsletter
จดหมายข่าวปีแห่งฟิสิกส์โลก ฉบับที่ 4 เดือน เมษายน พ.ศ. 2548
โดย ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล


ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นทฤษฎีที่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ที่สมบูรณ์กว่าทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของ เซอร์ ไอแซก นิวตัน แนวคิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปคือ การที่มวลสารทำให้ปริภูมิเวลา (spacetime) โค้งได้ ซึ่งแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงจากทฤษฎีต่าง ๆ ในขณะนั้น ไอน์สไตน์ใช้เวลาสิบปีหลังจากที่เขาได้เสนอบทความเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพ พิเศษในปี ค.ศ. 1905 เพื่อคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป บทความเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Berlin Academy of Sciences บทความนี้เป็นบทความสั้น ๆ แต่เป็นบทความที่กลั่นจากมันสมองที่ดีที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นบทความที่เป็นสุดยอดของความคิดสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ และเป็นผลจากความปรารถนาอย่างสูงที่ทำให้เรื่องราวเกี่ยวกับปริภูมิและเวลา เสร็จสมบูรณ์ไอน์สไตน์เชื่อในหลักการของการไม่เปลี่ยนผันซึ่งกล่าวว่า “กฎทางฟิสิกส์ทุกกฎจะต้องมีสมบัติที่เหมือนกันสำหรับผู้สังเกตทุกคน ไม่ว่าผู้สังเกตนั้นจะอยู่ในกรอบอ้างอิงใด” เช่น ถ้ามีวัตถุสองก้อนชนกัน ไม่ว่าผู้สังเกตจะอยู่ในกรอบอ้างอิงเฉื่อยหรือกรอบอ้างอิงที่มีความเร่ง ผู้สังเกตเหล่านั้นก็จะสังเกตได้ว่าการชนนั้นอนุรักษ์โมเมนตัมเหมือนกันหมด ไอน์สไตน์ไม่เชื่อว่าธรรมชาติจะเลือกกรอบอ้างอิงใดหรือการเคลื่อนที่รูปแบบ ใดรูปแบบหนึ่งเป็นพิเศษ เขากล่าวว่า “ผู้สังเกตจะไม่สามารถใช้กฎทางฟิสิกส์หรือการสังเกตใด ๆ เพื่อบอกว่าผู้สังเกตนั้นมีการเคลื่อนที่อย่างไรได้”
ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษไม่สามารถใช้กับผู้สังเกตที่มีความเร่งได้ ความจริงแล้ว ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษเป็นแค่กรณีพิเศษของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเท่านั้น แต่ไอน์สไตน์คิดว่ากรอบอ้างอิงที่มีความเร่งไม่น่าจะมีอะไรที่พิเศษไปกว่า กรอบอ้างอิงเฉื่อย ซึ่งหมายความว่า จะไม่มีใครที่สามารถใช้กฎทางฟิสิกส์เพื่อที่จะบอกว่ากรอบนั้นมีการเคลื่อน ที่อย่างไรหลักการสมมูล จุดเริ่มต้นที่เหนือความคิดของคนธรรมดาในการสร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ไอน์สไตน์ได้เริ่มจากการสังเกตโดยทั่วไป ซึ่งได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกโดยกาลิเลโอว่า “วัตถุที่ตกอิสระจากที่ระดับสูงเดียวกันภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกจะตกลงด้วย ความเร่งที่เท่ากันไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีมวลเท่าใด” ไอน์สไตน์เสนอต่อด้วยว่า “วัตถุต่าง ๆ ในกรอบอ้างอิงที่มีความเร่งจะตอบสนองต่อความเร่งนั้นในรูปแบบเดียวกันไม่ว่า วัตถุนั้นจะมีมวลเท่าใด”
จากการสังเกตทั้งสองอย่าง ไอน์สไตน์ได้เสนอหลักการที่น่าทึ่งอันหนึ่งทางฟิสิกส์ ซึ่งคือ หลักการสมมูล (Principle of Equivalence) ซึ่งกล่าวว่า “เราไม่สามารถแยกหรือบอกความแตกต่างระหว่าง แรงเฉื่อยและแรงโน้มถ่วงได้” หลักการนี้จะเป็นพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเราจะเข้าใจเหตุผลของ ไอน์สไตน์ได้ดีจากการพิจารณาการทดลองเชิงความคิดในเรื่องยานอวกาศ ซึ่งเขาวาดภาพว่ามียานอวกาศ ที่ตอนแรกอยู่นิ่งภายใต้สนามโน้มถ่วงของโลก ถ้าผู้สังเกตในยานปาลูกบอลตรงๆ ไปยังฝั่งตรงข้าม ลูกบอลที่เขาปาจะเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งพาราโบลาเพราะแรงโน้มถ่วงของโลก แล้วคราวนี้ลองวาดภาพว่ายานอวกาศถูกนำไปในที่ที่ไม่มีแรงโน้มถ่วงแต่ยาน อวกาศถูกทำให้มีความเร่งขนาด 9.8 เมตรต่อวินาทียกกำลังสอง ในทิศทางจากพื้นไปสู่เพดาน ผู้สังเกตที่อยู่ภายในยานอวกาศที่ทดลองปาลูกบอลออกไปตรง ๆ ก็จะพบว่าลูกบอลเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งพาราโบลาเช่นเดียวกัน (แน่นอนว่าผู้สังเกตภายนอกจะเห็นลูกบอลวิ่งเป็นเส้นตรงแต่จรวดขยับขึ้นเอง) นั่นคือสิ่งที่เขาสังเกตได้จะเหมือนกับขณะที่ยานอวกาศอยู่ในแรงโน้มถ่วงของ โลก สิ่งที่กล่าวมาแล้วนี้คือความหมายในเชิงฟิสิกส์ของ “หลักการสมมูล” หลักการนี้จะทำให้ไม่มีใครบอกได้ว่าเขากำลังอยู่ในกรอบอ้างอิงที่มีความเร่ง หรืออยู่นิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก เพราะว่าการทดลองต่างๆ จะให้ผลเหมือนกันหมด หลักการสมมูลจึงเป็นหลักการที่สนับสนุนแนวคิดของไอน์สไตน์ที่ว่าความเร่งจะ ให้ผลเหมือนกับความโน้มถ่วง ทำให้ผู้สังเกตจะไม่ทราบจากการสังเกตวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเขาได้ว่าเขาอยู่นิ่งในสนามโน้มถ่วงหรือกำลังเคลื่อนที่ด้วย ความเร่งคงตัวในอวกาศ ความเร่งและการอยู่นิ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกจากกันได้
จากหลักการสมมูลสู่ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปพิจารณาจรวดของไอน์สไตน์และหลัก การสมมูลจะเห็นได้ว่าแรงโน้มถ่วงนั้นเป็นเรื่องสัมพัทธ์ คือเป็นเรื่องที่ขึ้นกับผู้สังเกต การที่จะหาทฤษฎีที่ใช้ได้กับทุกกรอบอ้างอิงทำให้ไอน์สไตน์จึงเลือกที่จะ กำจัดแนวคิดเรื่องแรงโน้มถ่วงออกไป เพราะแรงโน้มถ่วงเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการเปลี่ยนกรอบอ้างอิง ไอน์สไตน์ได้เสนอกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันในอีกรูปแบบใหม่ที่ได้รวมแนวคิด เรื่องการกำจัดแรงโน้มถ่วงเข้าไปด้วย ไอน์สไตน์เสนอว่า “วัตถุทุกชนิดจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงเสมอ ไม่ว่าจะมีสนามโน้มถ่วงหรือไม่ก็ตาม” เส้นตรงในแนวคิดของไอน์สไตน์จะรวมถึงเส้นที่อาจจะดูไม่ตรงในมุมมองแบบยูคลิด ด้วย ตามแนวคิดของไอน์สไตน์นั้น แนวคิดของแรงโน้มถ่วงจะถูกแทนด้วยการโค้งของปริภูมิและเวลาถ้ามีมวลอยู่ ความโน้มถ่วงจึงกลายเป็นเรื่องของเรขาคณิตและการที่วัตถุเคลื่อนที่ในสนาม โน้มถ่วงตามที่ปรากฏก็เพราะว่าวัตถุนั้นเคลื่อนไปตามแนวโค้งของปริภูมิและ เวลาในบริเวณนั้น

คำทำนายที่เกือบจะเกินจินตนาการของมนุษย์
1. แสงเดินทางเป็นเส้นโค้ง
ในปี ค.ศ. 1919 ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปได้รับการยืนยันอย่างยิ่งใหญ่เมื่อเซอร์อาเธอร์ เอ็ดดิงตัน นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเดินทางไปที่หมู่เกาะ Principe ในแอฟริกาตะวันตก เพื่อตรวจสอบการเบี่ยงเบนของแสงจากดาวฤกษ์ที่อยู่ด้านหลังดวงอาทิตย์เมื่อ แสงนั้นเดินทางผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ผลการวัดการเบนของแสงได้ 1.60+0.31 พิลิปดา และ 1.60-0.31 พิลิปดา ซึ่งตรงกับผลที่ไอน์สไตน์ทำนายไว้คือ 1.74 พิลิปดา นี่เป็นหลักฐานโดยตรงที่แสดงการโค้งของแสง
2. เวลาของเราไม่เท่ากัน
ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปทำนายว่าที่ที่มีสนาม โน้มถ่วงมากจะทำให้เวลาเดินช้าลง แต่เนื่องจากผลของสนามโน้มถ่วงมีค่าน้อยมาก จึงยากเกินกว่าที่จะสังเกตเห็นความแตกต่างของเวลาได้ จึงยังไม่ได้มีการพิสูจน์จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1960 โรเบิร์ต พาวด์ และ เกลน เรบกาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประสบความสำเร็จในการทดลองนำนาฬิกาอะตอมเหล็ก 57 ที่สลายตัวให้รังสีแกมมา 2 เรือน วางไว้บนพื้นดินซึ่งมีแรงโน้มถ่วงมากกว่า และอีกเรือนวางไว้บนยอดตึกสูง 22 เมตร (มีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่า) พบว่าเรือนที่อยู่บนพื้นดินเดินช้ากว่าเรือนที่อยู่บนยอดตึก 1 วินาทีใน 10 ล้านปี อาจพิจารณาได้ว่าแรงโน้มถ่วงที่มีมากทำให้อะตอมสั่นช้าลง นั่นคือทำให้นาฬิกาเดินช้าลง ผลจากที่อะตอมสั้นช้าลงนี้ทำให้ความถี่ของแสงที่ปล่อยจากอะตอมนั้นลดลงด้วย นั่นก็คือสเปกตรัมของแสงจะเลื่อนไปทางสีแดง เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การเลื่อนไปทางสีแดงเนื่องจากความโน้มถ่วง (Gravitational red shift)
3. วงโคจรของดาวพุธไม่ได้เป็นวงรีตายตัว
ในปี ค.ศ. 1843 Le Verrier นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ค้นพบว่าวงโคจรของดาวพุธนั้นไม่ได้เป็นวงรีที่ตายตัวแต่จะมีการหมุนควงไป 574 พิลิปดา ทุก ๆ 100 ปี การหมุนควงนี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะการดึงดูดจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ นอกจากดวงอาทิตย์ Le Verrier ได้ใช้กฎของนิวตันคำนวณถึงผลจากการดึงดูดจากดาวเคราะห์ต่าง ๆ ผลการคำนวณได้ว่า วงโคจรของดาวพุธจะหมุนควงไป 531 พิลิปดาในเวลา 100 ปี ซึ่งผิดไปจากค่าที่สังเกตได้อยู่ 43 พิลิปดา ค่าที่ผิดพลาดนี้ไม่มีใครอธิบายได้ว่าทำไม จนกระทั่งไอน์สไตน์ได้ใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาคำนวณวงโคจรของดาวพุธ ในปี ค.ศ. 1915 และพบว่าผลจากการโค้งงอของปริภูมิเวลาจะทำให้วงโคจรของดาวพุธหมุนควงเพิ่ม ขึ้นอีก 43 พิลิปดาซึ่งตรงกับค่าที่สังเกตได้พอดี

วงโคจรของดาวพุธไม่ได้เป็นวงรีตายตัว

ปรากฏการณ์ ที่เกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปส่วนใหญ่นั้นเหมือนกับว่าจะพออธิบายให้ เข้าใจโดยเริ่มต้นจากหลักการสมมูลโดยการพิจารณาการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายใต้กรอบอ้างอิงที่มีความเร่งแล้วคิดว่าผลเช่นนั้นก็เกิดขึ้นได้ในสนาม โน้มถ่วงด้วยแต่การจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกฎของธรรมชาติและพฤติกรรมต่าง ๆของโครงสร้างของเอกภพที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปสามารถบอกได้นั้นจะต้องอาศัย การศึกษาทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปอย่างถ่องแท้และเต็มรูปแบบซึ่งจำเป็นจะต้อง เข้าใจถึงคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมากด้วยเท่านั้น
ข้อมูลอ้างอิง
[1] Story of Physics โดย Lloyd Motz และ Jefferson Hane Weaver สำนักพิมพ์ Plenum Press, New York, 1989.
[2] Was Einstein Right? โดย Clifford M. Will 2nd Edition สำนักพิมพ์ Oxford University Press, Oxford, 1995.
[3] From Alchemy to Quarks โดย Sheldon L. Glasgow, สำนักพิมพ์ Brooks/Cole, 1994.
[4] http://www2.gwu/~physics/einstein/scoresheet.htm
[5] http://www.astro.bas.bg/galaxie